คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

สอนภาษาไทยด้วยเพลง

ภาษาในเพลง




                การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้แต่ตอนที่เรากำลังมีความสุขกับการฟังเพลงอยู่นั้น เราก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้เช่นกัน หลายคนฟังเพลงเพื่อความสนุกสนานเพียงแค่นั้น แต่ทว่ามีหลายคนที่ฟังเพลงเพื่อต้องการที่จะซึมซาบไปกับความหมายในบทเพลง และนอกจากความสนุกสนาน และความเพลิดเพลิน บทเพลงยังให้ความรู้ในเรื่องของภาษากับเราอีกด้วย อย่างเช่นเพลงไทย ในเพลงแต่ละเพลง เราสามารถเรียนรู้อะไรจากมันได้บ้าง การสะกดคำ คำเป็นคำตาย มาตราตัวสะกด และรวมไปถึงโวหารภาพพจน์ เหล่านี้เราล้วนแล้วแต่เรียนรู้ได้จากบทเพลงทั้งนั้น ลองมาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันสิคะ ^^

ตอนนี้เรามาพูดถึงความโดเด่นของภาษาที่แตกต่างกันระหว่างเพลงสตริง กับเพลงไทยลูกทุ่ง 
เพลงสตริง หรือเพลงไทยป๊อป เป็นแนวเพลงของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตก ซึ่งภาษาที่ใช้แน่นอนอยู่แล้วว่า มีความแตกต่างจากเพลงลูกทุ่งไทยเป็นอย่างมาก
เพลงลูกทุ่ง โดยมากเนื้อหาจะเป็นการสะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมและวัฒนธรรมของไทย โดยมีการสอดแทรกภาษาถิ่นเข้าไปเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกถึงความเป็นพื้นบ้านได้มากที่สุด อีกทั้งท่วงทำนอง ดนตรี การร้อง มีแบบแผน และมีลักษณะเฉพาะของความเป็นลูกทุ่งอีกด้วย 
        ภาษาที่แตกต่างกัน ทำให้ความหมาย ความลึกซึ้ง อารมณ์และความรู้สึกในบทเพลงแตกต่างกันไปด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันของบทเพลงทั้งสองประเภทคือ ใช้ภาษาไมยในการเรียบเรียงขึ้นมาเป็นบทเพลง ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาในเพลง ก็เป็นการศึกษาภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ลองดูกันนะคะว่า เราจะสามารถเรียนรู้อะไรในเพลงได้บ้าง ตามไปดูกันในบทความต่อๆไปได้เลยค่ะ 


Let me introduce my self.

สวัสดีค่ะ ^^

นี่คือบล๊อกการเรียนรู้ของ นางสาวชโลธร เถรวัลย์


เรียกง่ายๆว่า ครูจ้อย ก็ได้นะคะ


นักศึกษา คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย 


มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามค่ะ :) 



บทความโดยมากของผู้เขียน เป็นการนำบทเพลงไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้นะคะ 
สามารถติชมได้ หากมีความคิดเห็นที่แตกต่าง หรือหากอยากจะสอบถามอะไรนั้น
สามารถสอบถามเข้ามาได้เลยค่ะ
บล๊อกนี้เป็นบล๊อกแห่งการศึกษา สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกันได้นะคะ
สำหรับตัวผู้เขียน ขอยินดีต้อนรับผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ทุกๆคนค่ะ ^^