คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คำสแลงในเพลง

คำแสลงในเพลง

       ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เมื่อเวลาเดินหน้า ภาษาก็เดินหน้าเช่นกัน ไปดูกันเถอะค่ะว่า คำสแลงคืออะไร การนำคำแสลงมาใช้นั้นผิด-ถูกอย่างไร ผู้เขียนบทความขอนำเสนอเนื้อหาดังนี้ค่ะ 

คำสแลง

       สแลง  (slang) คือ ถ้อยคำหรือสำนวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง 

       คำสแลง หรือคำคะนอง (Slang)คือถ้อยคำ สำนวน หรือภาษาพูดที่ใช้สร้างความเข้าใจเฉพาะกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว เป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ ภาษาไม่สุภาพ เป็นภาษาไม่เป็นแบบแผน แต่ไม่ใช่คำหยาบหรือ คำต่ำ แต่เป็นคำ พิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดคำแปลก ๆ ผิดไปจากปรกติทั้งด้านเสียง รูป คำ และความหมายเป็นภาษาที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม หรือปรากฏในพจนานุกรมแต่ระบุ ว่าเป็นภาษาปาก   คำสแลงมีระยะเวลาการใช้ไม่นานก็จะสูญหาย ไปเพราะหมด    ความนิยม

คำแสลงเป็นเหมื่อนกับศัพท์ของวัยรุ่นค่ะ มาแล้วก็ไป ตามกระแสนิยมแค่นั้น มาดูตัวอย่างคำแสลงกันดีกว่าค่ะ



ตัวอย่างคำแสลง

นอย = มาจากคำว่า "พารานอย" (paranoid) ในภาษาอังกฤษ ใช้เมื่อรู้สึกกลัว หริอกังวงจนเกินเหตุ
เซ็งเป็ด = ก็ "เซ็ง" นั่นแหละค่ะ แต่มากกว่าเซ็งปกตินิดนึง

เก้ง กวาง = เกย์

สะตอ, สะตอบอแหล = แผลงมาจากคำว่า "สตรอเบอร์รี่" ซึ่งเป็นคำแสลงของคำว่า "ตอแหล"อีกทีนึง

เก็ต = เข้าใจ
หงายเงิบ = หงายหลัง หกล้ม 
งานเข้า = สั้น ๆ ง่าย ๆ มันแปลว่า "ซวย" นั่นเอง
ชิมิ = ใช่ไหม
รู้ยัง = รู้หรือยัง 
จุงเบย = จังเลย
บ่องตรง = บอกตรงๆ

      เนื่องจากภาษาเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่แปลกที่เมื่อโลกเปลี่ยนไป จะมีภาษาเกิดขึ้นมาใหม่ โดยคำแสดงนั้น มีทั้งการตัดคำ กร่อนเสียงลงไป ซึ่งการกระทำเช่นนั้นทำให้ภาษาหรือคำที่ใช้ผิดไวยากรณ์ไป โดยคำสแลงนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเสมอมาว่า ถูก หรือผิด หรือไม่อย่างไร แต่ถึงกระนั้น ก็มีสื่อที่สร้างความบันเทิงหลายประเภทนะคะ ที่นำคำเหล่านี้มาใช้ เช่นในบทเพลงที่จะพาทุกท่านไปเรียนรู้นี้ก็มีการนำคำสแลงมาใช้เช่นกันค่ะ  อย่างเช่นเพลงนี้ 

       เพลงเจ็บจุงเบย นำคำว่า จุงเบยมาใช้ ความหมายก็คือ เจ็บจังเลยค่ะ ซึ่งแน่นอนว่า ในช่วงขณะนั้น คำว่าจุงเบย กำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างมาก ดังนั้นสื่อจึงผลิตเพลงออกมาเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากเพลงนี้แล้ว ยังมีอีกหลายเพลงนะคะ เช่นเพลง สตรอเบอแหล ของจ๊ะ อาร์สยาม เพลงชิมิ เพลงโสดอยู่รู้ยัง เพลงรักนะฉึก ฉึก เพลงที่ใช้คำแสลงมีอีกมาเลยค่ะ 
       หากเรามองในมุมของผู้ที่มีใจเปิดกว้าง อาจจะไม่รู้สึกว่ามันผิด หรือแปลกแต่อย่างใด แต่สำหรับผู้ที่ทำงานทางด้านภาษาแล้ว คำสแลงอาจไม่เป็นที่ยอมรับมากนักค่ะ เพราะถือว่าผิดหลักไวยากรณ์ อาจจะทำให้คำที่แท้จริงนั้นถูกหลงลืมไป แต่ในมุมองของตัวผู้เขียนบทความมองว่า ภาษาคือสิ่งสมมติค่ะ คำที่เขียนถูก หรือผิดนั้น ก็ถูกสมมติมา แต่คำที่เขียนถูกนั้น เป็นสิ่งสมมติที่เป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป ส่วนคำที่เขียนผิดนั้น เป็นสิ่งสมมติที่ไม่ได้ถูกยอมรับในสังคม แต่ถึงกระนั้น การเขียนคำ และการใช้ภาษาที่ถูกต้องนั้น ก็เป็นการแสดงถึงภูมิรู้ หรือความรู้ของตัวผู้ใช้ด้วย จึงอยู่ที่ผู้ใช้แล้วล่ะค่ะ ว่าจะใช้แบบใด
       สำหรับบทความนี้ โดยมากเป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนบทความเพียงเท่านั้น ผู้ที่เข้ามาศึกษา โปรดศึกษา และพิจารณาเนื้อหาอย่างมีวิจารณญาณด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ ^^ 

ขอขอบคุณ ภาพจาก kapook.com 

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10 เมษายน 2565 เวลา 12:41

    Best eCOGRA Sportsbook Review & Welcome Bonus 2021 - CA
    Looking for septcasino an eCOGRA Sportsbook Bonus? At this deccasino eCOGRA Sportsbook review, we're talking about a 바카라 사이트 variety 출장마사지 of ECCOGRA sportsbook promotions. 토토사이트

    ตอบลบ